ความสัมพันธ์กับในหลวงรัชกาลที่ 6
ความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 กับท่านธมฺมวิตกฺโก แต่ครั้งยังรับราชการเป็นมหาดเล็กห้องพระบรรทม ในนามบรรดาศักดิ์พระยานรรัตนราชมานิตนั้น เป็นไปอย่างใกล้ชิดสนิทแน่นยิ่ง ตำแหน่งเจ้ากรมห้องที่พระบรรทมหรือมหาดเล็กต้นห้องพระบรรทม ตลอดกระทั่งการได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นถึงพระยาพานทอง ตั้งแต่อายุเพียง 25 ปี และราชทินนามที่ว่า "นรรัตนราชมานิต" อันแปลอย่างง่าย ๆ ได้ว่า "คนดีที่พระเจ้าแผ่นดินทรงยกย่องนับถือ" นั้น ย่อมเป็นพยานยืนยันอย่างดีถึงความไว้วางพระราชหฤทัย และความเป็นที่ทรงยกย่องให้เกียรติเพียงใดขององค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าหัว ที่มีต่อพระยานรรัตนราชมานิตตั้งแต่เยาว์วัย
แต่พระยานรรัตนราชมานิตก็ได้มีความวิริยะอุตสาหะ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณอย่างดีที่สุด ที่มนุษย์ในโลกนี้จักพึงกระทำได้ต่อผู้มีพระคุณแก่ตน ตลอดทั้งความจงรักภักดี และความกตัญญูกตเวทีก็มีอยู่อย่างล้นพ้นจนสุดที่จะประมาณได้
ตลอดเวลาที่รับราชการ ประจำอยู่แต่ในเขตพระราชฐาน เป็นเวลานานเกือบ 10 ปีบริบูรณ์นั้น ท่านได้ตั้งหน้าอุตสาหะปฏิบัติหน้าที่ราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างเต็มสติกำลังและโดยสม่ำเสมอไม่รู้จักย่นย่อท้อถอย หน้าที่อันใดที่บ่าวจักพึงปฏิบัติต่อนาย เป็นต้นว่าตื่นก่อนนอนทีหลัง ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่การงานให้ดีขึ้น นำพระคุณของนายไปสรรเสริญ ฯลฯ เหล่านี้ท่านสามารถปฏิบัติได้โดยครบถ้วนบริบูรณ์ไม่มีขาดตกบกพร่องใด ๆ
เล่ากันว่า พระบาทสมเด็พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตื่นพระบรรทมลืมพระเนตรขึ้นมาคราวใด เป็นต้องได้ทอดพระเนตรเห็นท่านหมอบเฝ้าคอยถวายอยู่งานแถบทุกครั้งไป
ไม่ว่างานหนักงานเบา งานจุกจิกหยุมหยิมอย่างใด ท่านก็ยินดีและเต็มใจปฏิบัติสนองพระเดชพระคุณ จนเป็นที่พึงพอพระราชหฤทัยแทบทุกกรณีไป กล่าวกันว่าตลอดเวลา 10 ปี ที่รับราชการสนองพระเดชพระคุณอยู่อย่างใกล้ชิดนั้น ท่านไม่เคยถูกกริ้วเลยแม้แต่ครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่โดยปกตินั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระอารมณ์ออกจะรุนแรง กริ้วง่ายและกริ้วอยู่เสมอสำหรับบุคคลอื่น ๆ แต่สำหรับตัวท่านแล้วกลับตรงกันข้าม จึงเป็นเรื่องที่สร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้ที่ได้ทราบเรื่องนี้อยู่เสมอ
โดยปกติมหาดเล็กห้องพระบรรทมจะมีหน้าที่อยู่เวรถวายอยู่งานวันหนึ่ง แล้วว่างเว้นวันหนึ่งสลับกันไป เพื่อจะได้มีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง สำหรับจะได้พักผ่อนหรือทำธุรกิจส่วนตัว แต่สำหรับท่านแล้วเล่ากันวาแม้จะเป็นวันว่างเวร ท่านก็มักจะไม่ไปไหน คงประจำอยู่แต่ในห้องพระบรรทมแทบทุกวัน ไม่ว่าวันเข้าเวรหรือออกเวร หากมีธุระส่วนตัวจะต้องออกมาข้างนอกเมื่อใด ก็จะใช้เวลาตอนเสด็จออกจากห้องพระบรรทมแล้ว หรือเวลาเข้าที่พระบรรทมแล้วเท่านั้น
อันงานในหน้าที่ของมหาดเล็กห้องพระบรรทมนั้น นับว่าจุกจิกหยุมหยิมมากมายพอดูทีเดียว เริ่มแต่พอเสด็จเข้าที่พระบรรทม ก็จะต้องถวายอยู่งานนวดอยู่งานพัดเรื่อยไป จนกว่าจะทรงบรรทมหลับ
เวลาจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ใด ๆ ก็จะต้องทำหน้าที่แต่งพระองค์หรือควบคุมการแต่งพระองค์อย่างใกล้ชิด ร่วมกับพนักงานภูษามาลา คอยติดตราฉลองพระองค์ ฯลฯ บางครั้งท่านยังต้องชุนพระสนับเพลาจีนด้วยตนเองอีกด้วย
นอกจากนี้ก็ยังต้องคอยควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเสวยพระกระยาหารเช้า และพระเครื่องว่างในเวลาที่ต้องพระราชประสงค์
รวมความว่า งานรับใช้ทุกอย่างภายในห้องพระบรรทมนั้น อยู่ในหน้าที่ดูแลของท่านโดยตลอด
โดยปกติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเข้าที่พระบรรทม ซึ่งส่วนใหญ่จะประทับประจำอยู่ ณ พระที่นั่งบรมพิมานก็เป็นเวลาราว 01.00 น. หรือบางก็จน 02.00 น. ล่วงแล้ว และไปตื่นพระบรรทมเอาราว 11.00-11.30 น. แล้วก็จะเสวยเครื่องเช้าลำพังพระองค์ที่เฉลียงข้างห้องพระบรรทม จากนั้นจึงจะเสด็จเข้าห้องทรงพระอักษร ทรงปฏิบัติงานราชการแผ่นดิน และทรงปฏิบัติพระราชกิจต่าง ๆ
ในระหว่างเวลาต่อจากนี้ไปแล้ว จึงจะมีเวลาพักผ่อนเอาแรงหรือทำธุรกิจส่วนตัวได้ รวมทั้งตระเตรียมวางงานการบางอย่างไว้ด้วย
ตลอดเวลาที่ท่านรับราชการสนองพระเดชพระคุณอยู่ในวัง เป็นเวลาช้านานถึง 10 ปีนั้น ท่านไม่เคยได้กลับมานอนที่บ้านเลย จะออกมาเยี่ยมเยียนบ้านได้บ้างก็เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น และไม่เคยมีโอกาสได้ไปเที่ยวเตร่ที่ไหน ๆ เลย ไม่เคยได้ตามเสด็จไปในที่ใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะภาระงานในหน้าที่ของท่านบีบรัดอยู่ตลอดเวลา
พอจะเสด็จไปคราวใด ท่านก็จะทำหน้าที่แต่งพระองค์โดยตลอด พอเสด็จกลับมาถึงก็จะต้องรับหน้าที่คอยถอดฉลองพระองค์อีก ซึ่งจะต้องกระทำกันอย่างเร่งรีบรวดเร็วและเรียบร้อยด้วย หลายคนต้องช่วยกันชุลมุนวุ่นวาย
เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงมีพระวรกายอวบอ้วน (ทรงพ่วงพี) จึงทรงเป็นบุคคลชนิดที่เรียกกันว่าขี้ร้อนเอาการอยู่ทีเดียว กล่าวกันว่าพอเสด็จกลับมาถึงเมื่อใด ก็จะต้องเปิดพัดลมถวายคราวละ 4-5 เครื่องพร้อม ๆ กัน แล้วก็ช่วยกันระดมถอดกระดุมฉลองพระองค์ ถอดถุงพระบาทฉลองพระบาทให้ทันพระราชหฤทัย
ก็เมื่องานในหน้าที่รัดตรึงอยู่อย่างหนักหน่วงเช่นนี้ โอกาสที่ท่านจะตามเสด็จไปในที่ต่าง ๆ เยี่ยงข้าราชบริพารและขุนนางคนอื่น ๆ นั้นจึงหาได้ยากยิ่ง
ท่านเคยเล่าว่า ในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องเสด็จแปรพระราชฐาน ไปประทับแรมในที่ทุรกันดารห่างไกลจากในบ้านในเมือง เนื่องในการซ้อมรบเสือป่าทุกคราวนั้น แม้ทางการจะได้จัดการวางเวรยามรักษาการณ์ถวายอารักขาไว้อย่างเข้มงวดกวดขันเพียงใดแล้วก็ตาม แต่ท่านก็อดมิได้ที่จะต้องเอาเป็นธุระกังวลหมั่นออกตรวจตราตรากตรำดูแลกำกับอยู่เสมอทุกครั้งไป โดยมิได้เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ความง่วงเหงาหาวนอน ตามความต้องการพักผ่อนของร่างกายแต่อย่างใด
ด้วยความไม่ไว้วางใจ เกรงว่าเวรยามเหล่านั้นอาจะเผลองีบหลับไปบ้างด้วยความง่วงจัดในยามดึกสงัด ก็จะเป็นโอกาสของทรชนผู้คอยจ้องหมายปองจะประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้
อันความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นท่านเคยกล่าวอยู่เสมอ ๆ ว่า
"ต้องตายแทนได้!"
ถ้าหากว่าตัวท่านกระทำผิดคิดร้ายใด ๆ ต่อพระองค์ท่าน หรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบังเกิดความไม่เชื่อถือ ไม่ไว้วางพระราชหฤทัยในตัวท่านเมื่อใดแล้ว ท่านก็พร้อมเสมอที่จะน้อมรับพระราชโองการให้เอาตัวไปประหารชีวิต ตัดศีรษะเสียตามแบบฉบับของการประหารในสมัยนั้นได้ ท่านกล่าวอย่างหนักแน่นในเรื่องนี้ว่า
"เอาหัวเป็นประกันได้เลย!"
แปลว่าท่านมีความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างสุดชีวิตเลยทีเดียว
ส่วนองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นั้น ก็ทรงมีความเข้าพระราชหฤทัย และทรงรู้ใจในตัวพระยานรรัตนราชมานิตเป็นอย่างดีเช่นกัน เป็นต้นว่า ในยามที่เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบางปะอินนั้น คราวใดที่พระองค์มีพระประสงค์จะทรงดนตรีร่วมกับข้าราชบริพาร อันไม่ต้องอัธยาศัยของพระยานรรัตนราชมานิต ท่านก็จะถือโอกาสกราบบังคมทูลปลีกตัว ออกไปนั่งสงบอยู่ในป่าช้าแต่โดยลำพัง แต่ก็มิใช่ไปอย่างขาดลอยสบายตัวเลย เพราะเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะทรงเรียกใช้สอย หรือทรงต้องการตัวเมื่อใด ก็จะต้องกราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงแหล่งที่จะไปตามพบตัวได้ทุกเมื่อ กล่าวคือเป็นที่รู้กันระหว่างพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระยานรรัตนราชมานิต
ก็โดยเหตุที่ท่านได้อุตสาหะตั้งใจรับราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างสุดกำลัง ไม่ว่าทั้งด้านกายใจ ได้ทุ่มเทอุทิศถวายให้ทั้งหมด แม้กระทั่งชีวิตและความสุขของตนเอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็คงจะซาบซึ้งตระหนักชัดในความจงรักภักดีของมนตรีของพระองค์ผู้นี้เป็นอย่างดีเช่นกัน ถึงกับคราวหนึ่งเมื่ออยู่ลำพังสองต่อสองได้มีพระราชกระแสรับสั่งกับท่านว่า
"ตรึก นี่เราเป็นเพื่อนกันนะ แต่เวลาออกงานออกการแล้ว เราจึงจะเป็นเจ้าเป็นข้ากัน"
พระราชดำรัสทั้งนี้ เป็นที่จับใจพระยานรรัตนราชมานิตเป็นอย่างยิ่ง
โดยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ จึงเป็นเหตุให้ท่านตัดสินใจ "บวชหน้าไฟ" อุทิศถวายเป็นพระราชกุศล ในวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ แล้วก็กลายเป็นบวชจนชั่วชีวิต ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
ตลอดเวลาที่ท่านบวชอยู่เป็นเวลาช้านานถึง 45 พรรษา คิดเป็นวันก็ได้กว่า 15,000 วันนั้น ไม่มีวันใดเลยที่ท่านจะว่างเว้นจากการกรวดน้ำอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นยอดกตัญญูอย่างที่จะบุคคลใดมาเทียบได้ยากยิ่ง
ยิ่งกว่านั้น ทุกวันที่ 25 พฤศจิกายน อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 นั้น ท่านก็จะงดเว้นการฉันอาหาร 1 วัน และนั่งกระทำสมาธิตั้งแต่หัวค่ำไปจนยันสว่างเพื่อน้อมจิตอุทิศถวายกุศลผลบุญ ที่ได้ปฏิบัติบำเพ็ญมาโดยตลอดแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้น
ท่านได้เฝ้าปฏิบัติอยู่เช่นนี้เป็นประจำทุกปีมิได้เคยมีขาดเว้นเลย
นอกจากนี้ยังได้บำเพ็ญกุศลด้วยประการต่าง ๆ เพื่อน้อมอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลอีกเป็นอเนกประการ
อันความจงรักภักดีของท่านธมฺมวิตกฺโกที่มีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น จึงนับว่าเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งใหญ่หลวงจริง ๆ
คราวหนึ่งในขณะที่มีการประกวดนางงามกันในงานวชิราวุธานุสรณ์ และนางงามผู้ชนะเลิศยังเรียกกันว่า "นางงามวชิราวุธ" (ต่อมาได้เปลี่ยนเรียกเป็น "นางสาวไทย") นั้น ได้มีการพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีนี้กันต่อหน้าท่านธมฺมวิตกฺโกในพระอุโบสถ
ทันใดนั้นท่านธมฺมวิตกฺโกก็กล่าวขึ้นว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงพอพระราชหฤทัยในการที่เอาพระปรมาภิไธยของพระองค์ไปใช้เรียกชื่อนางงามที่นุ่งน้อยห่มน้อย เป็นเชิงประกวดขาอ่อนกันเช่นนั้น
ทุกคนที่ได้ฟังพากันตะลึงและงงงัน !
ทันใดนั้นคนหนึ่ง ด้วยความสงสัยเต็มประดาก็โพล่งถามท่านไปว่า
"พระเดชพระคุณได้ติดต่อกับพระองค์อยู่เสมอหรืออย่างไร จึงได้ทราบว่าไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย"
"ใช่" ท่านพยักหน้าตอบ
คำตอบของท่านเป็นคำตอบอย่างจนมุมสุดที่จะเลี่ยงตอบให้เป็นอย่างอื่นใด เพราะตามปกตินั้นท่านก็มักจะไม่พูดถึงเรื่องเร้นลับใด ๆ ให้เป็นการแสดงอวดรู้อวดวิเศษกับบุคคลใด นอกจากเป็นการโดยบังเอิญ ดังเช่นกรณีนี้เท่านั้น
เมื่อท่านพูดสิ่งใดออกไปแล้ว ทุกคนก็ต้องเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงทั้งสิ้น และไม่มีใครกล้าซักถามกันอีกต่อไป ด้วยความเกรงกลัวท่าน แล้วเรื่องก็ยุติลงแต่เพียงแค่นั้น จากเรื่องดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ที่ทราบเรื่องต่างก็เชื่อแน่ว่าท่านธมฺมวิตกฺโกได้ติดต่อกับดวงพระวิญญาณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นล้นเกล้าเจ้าชีวิตของท่านมาตั้งแต่วัยหนุ่มอยู่ตลอดเวลา แต่จะเป็นโดยวิถีทางใดนั้นสุดวิสัยที่มนุษย์ธรมดาอย่างเราท่านจักพึงทราบชัดได้
.........................................................
เวลาจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังที่ใด ๆ ก็จะต้องทำหน้าที่แต่งพระองค์หรือควบคุมการแต่งพระองค์อย่างใกล้ชิด ร่วมกับพนักงานภูษามาลา คอยติดตราฉลองพระองค์ ฯลฯ บางครั้งท่านยังต้องชุนพระสนับเพลาจีนด้วยตนเองอีกด้วย
นอกจากนี้ก็ยังต้องคอยควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเสวยพระกระยาหารเช้า และพระเครื่องว่างในเวลาที่ต้องพระราชประสงค์
รวมความว่า งานรับใช้ทุกอย่างภายในห้องพระบรรทมนั้น อยู่ในหน้าที่ดูแลของท่านโดยตลอด
โดยปกติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเข้าที่พระบรรทม ซึ่งส่วนใหญ่จะประทับประจำอยู่ ณ พระที่นั่งบรมพิมานก็เป็นเวลาราว 01.00 น. หรือบางก็จน 02.00 น. ล่วงแล้ว และไปตื่นพระบรรทมเอาราว 11.00-11.30 น. แล้วก็จะเสวยเครื่องเช้าลำพังพระองค์ที่เฉลียงข้างห้องพระบรรทม จากนั้นจึงจะเสด็จเข้าห้องทรงพระอักษร ทรงปฏิบัติงานราชการแผ่นดิน และทรงปฏิบัติพระราชกิจต่าง ๆ
ในระหว่างเวลาต่อจากนี้ไปแล้ว จึงจะมีเวลาพักผ่อนเอาแรงหรือทำธุรกิจส่วนตัวได้ รวมทั้งตระเตรียมวางงานการบางอย่างไว้ด้วย
ตลอดเวลาที่ท่านรับราชการสนองพระเดชพระคุณอยู่ในวัง เป็นเวลาช้านานถึง 10 ปีนั้น ท่านไม่เคยได้กลับมานอนที่บ้านเลย จะออกมาเยี่ยมเยียนบ้านได้บ้างก็เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น และไม่เคยมีโอกาสได้ไปเที่ยวเตร่ที่ไหน ๆ เลย ไม่เคยได้ตามเสด็จไปในที่ใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะภาระงานในหน้าที่ของท่านบีบรัดอยู่ตลอดเวลา
พอจะเสด็จไปคราวใด ท่านก็จะทำหน้าที่แต่งพระองค์โดยตลอด พอเสด็จกลับมาถึงก็จะต้องรับหน้าที่คอยถอดฉลองพระองค์อีก ซึ่งจะต้องกระทำกันอย่างเร่งรีบรวดเร็วและเรียบร้อยด้วย หลายคนต้องช่วยกันชุลมุนวุ่นวาย
เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงมีพระวรกายอวบอ้วน (ทรงพ่วงพี) จึงทรงเป็นบุคคลชนิดที่เรียกกันว่าขี้ร้อนเอาการอยู่ทีเดียว กล่าวกันว่าพอเสด็จกลับมาถึงเมื่อใด ก็จะต้องเปิดพัดลมถวายคราวละ 4-5 เครื่องพร้อม ๆ กัน แล้วก็ช่วยกันระดมถอดกระดุมฉลองพระองค์ ถอดถุงพระบาทฉลองพระบาทให้ทันพระราชหฤทัย
ก็เมื่องานในหน้าที่รัดตรึงอยู่อย่างหนักหน่วงเช่นนี้ โอกาสที่ท่านจะตามเสด็จไปในที่ต่าง ๆ เยี่ยงข้าราชบริพารและขุนนางคนอื่น ๆ นั้นจึงหาได้ยากยิ่ง
ท่านเคยเล่าว่า ในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องเสด็จแปรพระราชฐาน ไปประทับแรมในที่ทุรกันดารห่างไกลจากในบ้านในเมือง เนื่องในการซ้อมรบเสือป่าทุกคราวนั้น แม้ทางการจะได้จัดการวางเวรยามรักษาการณ์ถวายอารักขาไว้อย่างเข้มงวดกวดขันเพียงใดแล้วก็ตาม แต่ท่านก็อดมิได้ที่จะต้องเอาเป็นธุระกังวลหมั่นออกตรวจตราตรากตรำดูแลกำกับอยู่เสมอทุกครั้งไป โดยมิได้เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ความง่วงเหงาหาวนอน ตามความต้องการพักผ่อนของร่างกายแต่อย่างใด
ด้วยความไม่ไว้วางใจ เกรงว่าเวรยามเหล่านั้นอาจะเผลองีบหลับไปบ้างด้วยความง่วงจัดในยามดึกสงัด ก็จะเป็นโอกาสของทรชนผู้คอยจ้องหมายปองจะประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้
อันความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นท่านเคยกล่าวอยู่เสมอ ๆ ว่า
"ต้องตายแทนได้!"
ถ้าหากว่าตัวท่านกระทำผิดคิดร้ายใด ๆ ต่อพระองค์ท่าน หรือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบังเกิดความไม่เชื่อถือ ไม่ไว้วางพระราชหฤทัยในตัวท่านเมื่อใดแล้ว ท่านก็พร้อมเสมอที่จะน้อมรับพระราชโองการให้เอาตัวไปประหารชีวิต ตัดศีรษะเสียตามแบบฉบับของการประหารในสมัยนั้นได้ ท่านกล่าวอย่างหนักแน่นในเรื่องนี้ว่า
"เอาหัวเป็นประกันได้เลย!"
แปลว่าท่านมีความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างสุดชีวิตเลยทีเดียว
ส่วนองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นั้น ก็ทรงมีความเข้าพระราชหฤทัย และทรงรู้ใจในตัวพระยานรรัตนราชมานิตเป็นอย่างดีเช่นกัน เป็นต้นว่า ในยามที่เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบางปะอินนั้น คราวใดที่พระองค์มีพระประสงค์จะทรงดนตรีร่วมกับข้าราชบริพาร อันไม่ต้องอัธยาศัยของพระยานรรัตนราชมานิต ท่านก็จะถือโอกาสกราบบังคมทูลปลีกตัว ออกไปนั่งสงบอยู่ในป่าช้าแต่โดยลำพัง แต่ก็มิใช่ไปอย่างขาดลอยสบายตัวเลย เพราะเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะทรงเรียกใช้สอย หรือทรงต้องการตัวเมื่อใด ก็จะต้องกราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงแหล่งที่จะไปตามพบตัวได้ทุกเมื่อ กล่าวคือเป็นที่รู้กันระหว่างพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระยานรรัตนราชมานิต
ก็โดยเหตุที่ท่านได้อุตสาหะตั้งใจรับราชการสนองพระเดชพระคุณอย่างสุดกำลัง ไม่ว่าทั้งด้านกายใจ ได้ทุ่มเทอุทิศถวายให้ทั้งหมด แม้กระทั่งชีวิตและความสุขของตนเอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็คงจะซาบซึ้งตระหนักชัดในความจงรักภักดีของมนตรีของพระองค์ผู้นี้เป็นอย่างดีเช่นกัน ถึงกับคราวหนึ่งเมื่ออยู่ลำพังสองต่อสองได้มีพระราชกระแสรับสั่งกับท่านว่า
"ตรึก นี่เราเป็นเพื่อนกันนะ แต่เวลาออกงานออกการแล้ว เราจึงจะเป็นเจ้าเป็นข้ากัน"
พระราชดำรัสทั้งนี้ เป็นที่จับใจพระยานรรัตนราชมานิตเป็นอย่างยิ่ง
โดยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ จึงเป็นเหตุให้ท่านตัดสินใจ "บวชหน้าไฟ" อุทิศถวายเป็นพระราชกุศล ในวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ แล้วก็กลายเป็นบวชจนชั่วชีวิต ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว
ตลอดเวลาที่ท่านบวชอยู่เป็นเวลาช้านานถึง 45 พรรษา คิดเป็นวันก็ได้กว่า 15,000 วันนั้น ไม่มีวันใดเลยที่ท่านจะว่างเว้นจากการกรวดน้ำอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นยอดกตัญญูอย่างที่จะบุคคลใดมาเทียบได้ยากยิ่ง
ยิ่งกว่านั้น ทุกวันที่ 25 พฤศจิกายน อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 นั้น ท่านก็จะงดเว้นการฉันอาหาร 1 วัน และนั่งกระทำสมาธิตั้งแต่หัวค่ำไปจนยันสว่างเพื่อน้อมจิตอุทิศถวายกุศลผลบุญ ที่ได้ปฏิบัติบำเพ็ญมาโดยตลอดแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้น
ท่านได้เฝ้าปฏิบัติอยู่เช่นนี้เป็นประจำทุกปีมิได้เคยมีขาดเว้นเลย
นอกจากนี้ยังได้บำเพ็ญกุศลด้วยประการต่าง ๆ เพื่อน้อมอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลอีกเป็นอเนกประการ
อันความจงรักภักดีของท่านธมฺมวิตกฺโกที่มีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น จึงนับว่าเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งใหญ่หลวงจริง ๆ
คราวหนึ่งในขณะที่มีการประกวดนางงามกันในงานวชิราวุธานุสรณ์ และนางงามผู้ชนะเลิศยังเรียกกันว่า "นางงามวชิราวุธ" (ต่อมาได้เปลี่ยนเรียกเป็น "นางสาวไทย") นั้น ได้มีการพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีนี้กันต่อหน้าท่านธมฺมวิตกฺโกในพระอุโบสถ
ทันใดนั้นท่านธมฺมวิตกฺโกก็กล่าวขึ้นว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงพอพระราชหฤทัยในการที่เอาพระปรมาภิไธยของพระองค์ไปใช้เรียกชื่อนางงามที่นุ่งน้อยห่มน้อย เป็นเชิงประกวดขาอ่อนกันเช่นนั้น
ทุกคนที่ได้ฟังพากันตะลึงและงงงัน !
ทันใดนั้นคนหนึ่ง ด้วยความสงสัยเต็มประดาก็โพล่งถามท่านไปว่า
"พระเดชพระคุณได้ติดต่อกับพระองค์อยู่เสมอหรืออย่างไร จึงได้ทราบว่าไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย"
"ใช่" ท่านพยักหน้าตอบ
คำตอบของท่านเป็นคำตอบอย่างจนมุมสุดที่จะเลี่ยงตอบให้เป็นอย่างอื่นใด เพราะตามปกตินั้นท่านก็มักจะไม่พูดถึงเรื่องเร้นลับใด ๆ ให้เป็นการแสดงอวดรู้อวดวิเศษกับบุคคลใด นอกจากเป็นการโดยบังเอิญ ดังเช่นกรณีนี้เท่านั้น
เมื่อท่านพูดสิ่งใดออกไปแล้ว ทุกคนก็ต้องเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงทั้งสิ้น และไม่มีใครกล้าซักถามกันอีกต่อไป ด้วยความเกรงกลัวท่าน แล้วเรื่องก็ยุติลงแต่เพียงแค่นั้น จากเรื่องดังกล่าวนี้ ทำให้ผู้ที่ทราบเรื่องต่างก็เชื่อแน่ว่าท่านธมฺมวิตกฺโกได้ติดต่อกับดวงพระวิญญาณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นล้นเกล้าเจ้าชีวิตของท่านมาตั้งแต่วัยหนุ่มอยู่ตลอดเวลา แต่จะเป็นโดยวิถีทางใดนั้นสุดวิสัยที่มนุษย์ธรมดาอย่างเราท่านจักพึงทราบชัดได้
.........................................................